ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect) คือปรากฏการณ์กระเจิงแสง เมื่อฉายลำแสงไปในสารคอลลอยด์บางชนิด อนุภาคคอลลอยด์จะช่วยกระเจิงแสงและทำให้มองเห็นเป็นลำแสงได้ เช่นการทอแสงของอากาศที่มีละอองฝุ่นอยู่
การเคลื่อนที่แบบบราวน์
การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian Motion) คือการเคลื่อนที่ของอนุภาคคอลลอยด์ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม โดยการชนไปมาของอนุภาคจากส่วนเนื้อเดียว ซึ่งโรเบิร์ต บราวน์ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในการส่องควันโดยกล้องจุลทรรศน์
การคอลลอยด์จะมีลักษณะคล้ายกาว
คุณสมบัติของคอลลอยด์
1. กระเจิงแสงได้ เรียกว่าปรากฎการณ์ทิลดอลล์
2. คอลลอยด์ไม่ตกตะกอน
3. มีการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน คือ เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ไม่มีทิศทางแน่นอนเมื่อส่องดูด้วยอุลตราไมโครสโคป
คอลลอยด์ที่พบมากในชีวิตประจำวัน คือ อิมัลชัน ซึ่งอิมัลชัน คือ คอลลอยด์ที่เกิดระหว่างของเหลว + ของเหลว โดยของเหลวนั้นจะปนเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีอิมัลซิฟายเออร์เป็นตัวประสาน
อิมัลซิฟายเออร์ จะอยู่ในอิมัลชัน
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=4154
|