<< Go Back

                   1.เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจสอบสมบัติการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสหรือสารละลายจากพืชในท้องถิ่นของสารละลายในชีวิตประจำวัน
                   2.เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดกลุ่มสารละลายที่ตรวจสอบเป็นสารละลายกรด หรือสารละลายเบสโดยใช้สมบัติการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสหรือสารละลายจากพืชในท้องถิ่นเป็นเกณฑ์
                   3.เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจสอบและอธิบายสมบัติของสารละลายกรดและสารละลายเบสเมื่อทำปฏิกิริยากับสารบางชนิด

1. กระดาษขาว      1     แผ่น

2. น้ำอัดลม      3     ลบ.ซม.

3. น้ำมะขาม     3     ลบ.ซม.

4. น้ำมะนาว     3     ลบ.ซม.

5. น้ำส้มสายชู    3     ลบ.ซม.

6. น้ำขี้เถ้า     3   ลบ.ซม.

7. น้ำสบู่      3    ลบ.ซม.

8. สารละลายผงซักฟอก     3    ลบ.ซม.

9. สารละลายยาสีฟัน     3    ลบ.ซม.

10. น้ำยาล้างห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์     3    ลบ.ซม.

11. ผงฟู     3    ลบ.ซม.

12. เกลือแกง    3    ลบ.ซม.

13. น้ำปูนใส     3    ลบ.ซม.

14. หลอดทดลอง     6     หลอด

15. แท่งแก้วสำหรับคน     1     อัน

16. ที่ตั้งหลอดทดลอง      1     อัน

17. กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดง     12    แผ่น

 

                  1.           ตัดกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดงขนาด 1 เซนติเมตร x 0.5 เซนติเมตร วางไว้บนกระดาษขาวเป็นคู่ ๆ มีระยะห่างกันพอสมควร
                  2.  ใช้แท่งแก้วสำหรับคนจุ่มลงในน้ำอัดลม แล้วนำมาแตะกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดงที่วางอยู่บนกระดาษขาว สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วบันทึกผล
                  3.         ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่ใช้ น้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำขี้เถ้า น้ำสบู่ สารละลายผงซักฟอก สารละลายยาสีฟัน น้ำยาล้างห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ ผงฟู เกลือแกง น้ำปูนใส พร้อมทั้งบันทึกผลการทดลอง

 

                 ผลการทดลองที่ได้ คือ

สาร

การทดสอบ

กระดาษลิสมัตสีน้ำเงิน

กระดาษลิสมัตสีแดง

1. น้ำอัดลม

เปลี่ยนเป็นสีแดง

-

2. น้ำมะขาม

เปลี่ยนเป็นสีแดง

-

3. น้ำมะนาว

เปลี่ยนเป็นสีแดง

-

4. น้ำส้มสายชู

เปลี่ยนเป็นสีแดง

-

5. น้ำขี้เถ้า

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

6. น้ำสบู่

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

7. สารละลายผงซักฟอก

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

8. สารละลายยาสีฟัน

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

9.น้ำยาล้างห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

เปลี่ยนเป็นสีแดง

-

10. ผงฟู

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

11. เกลือแกง

-

-

12. น้ำปูนใส

-

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

                 สารละลายที่นำมาทดลองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง จัดเป็นกรด กลุ่มที่สองเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินจัดเป็นเบส และกลุ่มที่สามไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสองสี เป็นกลาง

          การทดสอบสารละลายกรด - เบสกับกระดาษลิตมัสสรุปได้ว่า 
                 ใช้กระดาษลิตมัส     - สารที่เป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสี น้ำเงิน
                                                   - สารที่เป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
                                                   - สารที่เป็นกลาง จะไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส


<< Go Back