ของเล่นและของใช้ต่างๆ เป็นสิ่งที่มีรูปร่าง มีขนาด และลักษณะแตกต่างกันออกไป บางชนิดทำมาจากวัสดุธรรมชาติ บางชนิดทำมาจากวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น บางชนิดมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดก็มีรูปร่างเหลี่ยม ซึ่งเราสามารถใช้ลักษณะเหล่านี้จัดกลุ่มสิ่งต่างๆ ของของเล่นของใช้ตามลักษณะที่ตาเรามองเห็น เช่น ลักษณะที่ใหญ่ หรือเล็ก หรือแบ่งตามสี แบ่งตามวัสดุที่ทำ
ของเล่นต่างๆ
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121811/innovation/index.php/4
ของใช้
http://home.sanook.com/3357/
ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งตามลักษณะหรือสมบัติที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน นำมาจัดกลุ่มของเล่นของใช้ได้ ดังนี้
ใช้สีเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างมีสีเดียวกัน เช่น สีขาว สีดำ สีแดง บางชนิดมีหลายสีปะปนกัน
ใช้รูปร่างและรูปทรงเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างมีรูปร่างกลม บางอย่างสี่เหลี่ยมหรือเป็นสามเหลี่ยม เป็นต้น
ใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างมีขนาดใหญ่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ รถ บ้าน โรงเรียน ฯลฯ วัตถุบางอย่างเล็ก เช่น หนังสือ กล่อง แก้ว ตุ๊กตา ฯลฯ
ใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างมีน้ำหนักมาก เช่น โต๊ะหิน เรือ รถ บางอย่างมีน้ำหนักเบา เช่น กล่องดินสอ ยางลบ ปากกา นุ่น สาลี ฯลฯ
ใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างอาจมีผิวเรียบ เช่น กระจก กระดาษ ผ้าปูโต๊ะ บางอย่างอาจมีผิวหยาบ เช่น กระดาษทราย พื้นรองเท้า พื้นกระเบื้องห้องน้ำ เป็นต้น
ใช้วัสดุที่ใช้ทำเป็นเกณฑ์ วัตถุบางอย่างทำมาจากพลาสติก เช่น ขวดน้ำ บางอย่างทำมาจากแก้ว เช่น แก้วน้ำ และบางอย่างทำมาจากไม้ เช่น เก้าอี้
ของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัวเรา ทำมาจากวัสดุที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ วัสดุบางอย่างอาจมีส่วนประกอบหลายอย่าง ทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่น โลหะ ดิน ไม้ หิน พลาสติก แก้ว กระดาษ บางอย่างแข็ง บางอย่างเหนียว บางอย่างเปราะบาง ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็นำมาใช้ประโยชน์แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เมื่อใช้ไปนานๆ อาจชำรุดเสียหาย เราจึงต้องรู้จักรักษาและประดิษฐ์ซ่อมแซมของเล่นของใช้จากวัสดุที่เหลือใช้
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121811/innovation/index.php/4 |