<< Go Back


          "ผงวุ้น" เป็นส่วนผสมในการทำอาหาร ที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาหาร ให้มีรูปทรงที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังให้เนื้อสัมผัสนุ่มนวลไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และไม่มีสี

          1. สาหร่ายเขากวาง (Gelidium) เป็นสาหร่ายชนิดที่ให้วุ้นที่แข็งตัวได้ดี
      2. สาหร่ายกราซิลลาเรีย (Glacilaria) เป็นสาหร่ายที่ต้องใช้ในปริมาณมากวุ้น จึงจะแข็งตัว


      - พื้นที่ที่ติดชายทะเล ที่มีคลื่นสงบ
      - พื้นที่ที่มีน้ำขึ้นน้ำลง
      - พื้นที่ที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา

      ในประเทศไทย พบแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งอ่าวไทย ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย วุ้นที่มาจากแหล่งที่ต่างกันก็จะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน


      มาตรฐานของสาหร่ายที่ให้วุ้นขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
            - ความแห้ง
            - ความแข็งตัวของวุ้น
            - ปริมาณวุ้นที่ได้
            - ปริมาณสิ่งเจือปน


      - ชนิดของสาหร่าย
      - แหล่งที่มา
      - วิธีการสกัด
      - ระยะเวลาในการสกัด
      - ความเป็นกรดเป็นด่าง


      1. นำสาหร่ายมาล้างน้ำให้สะอาด เพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อน
      2. นำสาหร่ายไปตากให้แห้ง นำไปล้าง ทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ
      3. นำสาหร่ายแห้งไปต้มจนสาหร่ายนิ่ม
      4. นำสาหร่ายไปบดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
      5. สาหร่ายที่บดแล้วไปต้มต่อ เติมสารช่วยปรับความเป็นกรด เป็นด่าง
      6. ไปกรอง ทิ้งให้แข็งตัว
      7. ไปแช่เย็น เพื่อให้น้ำแยกออกจากตัววุ้น
      8. วุ้นออกจากตู้เย็น ปล่อยให้น้ำแข็งละลาย ล้างวุ้นด้วยน้ำเย็น ทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
      9. นำวุ้นไปอบแห้ง และบดให้เป็นผง


      1. ใช้ในอุตสาหกรรมของหวาน
      2. ใช้ไนอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อาหารกระป้อง เพราะวุ้นช่วยป้องกันการยุ่ย/ละของเนื้อสัตว์ ทำไอศกรีม ฯลฯ
      3. ใช้ในงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยา การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
      4. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
      5. ใช้ในด้านยา ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยาระบาย ช่วยล้างสารพิษ ช่วยลดคลอเรสเตอรอล ช่วยคักจับไขมัน น้ำตาลในเลือด


      1. ละลายในอุณภูมิที่เหมาะสม วุ้นละลายได้ดีในน้ำเดือด จนกลายเป็นเนื้อเจลในช่วง 32 - 43 *C เมื่อเป็นเจลแล้วจะ ละลายได้ตั้งแต่ความร้อนถึง 85 *C หรือสูงกว่านี้ ควรแช่ผงวุ้นให้อิ่มน้ำในอุณหภูมิห้อง
      2. เลือกใช้วุ้นในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้วุ้นเละหรือแข็งจนเกินไป ควรใช้วุ้นในปริมาณ 7-10% ของน้ำหนักน้ำ หรือ ถ้าต้องการให้วุ้นแข็งตัวมากก็สามารถเพิ่มปริมาณผงวุ้นหรือลดปริมาณน้ำ


      1. สกัดมาจากแหล่งวัตถุดิบต่างกัน
            วุ้นทำมาจากสาหร่ายแต่เจลาตินสกัดมาจากกระดูก หนังสัตว์

      2. ให้เนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน
           วุ้นจะมีเนื้อสัมผัสที่แข็งกรอบ แต่เจลาตินจะให้ความเด้ง ความยืดหยุ่น


      1. ผงวุ้นไทย/ผงวุ้นเวียดนาม
      2. น้ำ
      3. น้ำตาลทราย
      4. กะทิ
      5. สีผสมอาหาร
      6. สีเจลผสมอาหาร
      7. ใบเตย
      8. ผลไม้
      9. มะม่วงสุก
      10. ข้าวเหนียวมูน
      11. เค้กบัตเตอร์
      12. น้ำส้มเข้มข้น
      13. ฝอยทอง


  



<< Go Back