<< Go Back

“ข้าวตัง”

      “ข้าวตัง” มาจากสมัยก่อนที่มีการเลี้ยงคนจำนวนมาก เวลาหุงข้าวต้องใช้กระทะใบใหญ่ๆ เรียก “กระทะใบบัว” เป็นเหตุให้มีข้าวติดก้นกระทะอยู่มาก ข้าวที่ติดก้นกระทะนี้จะร่อนออกมาเป็นแผ่นๆ กลายเป็น “ข้าวตัง” ถ้าปล่อยไว้ให้เกรียม ในก้นกระทะก็จะกรอบอร่อยกลายเป็นของกินเล่นได้ ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือเอาข้าวสุกที่เหลือติดก้นหม้อหุงข้าว  หรือข้าวเย็นที่เหลือ มาใส่กระด้งตากแดด บางครั้งเลยเรียกว่า “ข้าวตาก”
      ข้าวตังดังกล่าวนี้เป็นข้าวตังแท้ๆ ยังไม่ได้ปรุงแต่งให้มีรสชาติ หลุดออกมาจากก้นกระทะอย่างใดก็กินอย่างนั้น ส่วนคำว่า “ข้าวตังกับหนังปลา” คงให้คล้องจองกัน แต่การกินก็แยกกันอยู่ ข้าวตังเมื่อทอดแล้วก็มีเครื่องประกอบไปทางหนึ่งเช่น ข้าวตังหน้าตั้ง ส่วนหนังปลาก็แยกไปกินกับก๋วยเตี๋ยว มาถึงสมัยนี้ข้าวตังได้รับการยกขึ้นโต๊ะ
กลายเป็นอาหารว่างขึ้นหน้าขึ้นตาไปแล้ว เช่น “ข้าวตังหน้าตั้งชาววัง” อย่างนี้เป็นต้น มีเรื่องเล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตเมืองไทย ปรากฎว่ามีพระราชประสงค์จะเสวยข้าวตัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์เล่าถึงเหตุการณ์นี้ ถึงหม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล ตอนหนึ่ง ว่า

ขอบคุณเนื้อหาเพิ่มเติม
https://www.matichonacademy.com/content/food-story/article_39850

<< Go Back