<< Go Back

      หากเราต้องการประกอบอาหารจึงจำเป็นจะต้องมีการเตรียมวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อม ซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารนั้น ๆ น่ารับประทานและถูกหลักโภชนาการ ดังนั้นการเลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะจะส่งผลต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่าย ในการเลือกวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร จะช่วยให้ได้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ

          - เขียนรายการที่ต้องการซื้อ
          - เลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
          - เลือกซื้ออาหารให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อสมาชิกในครอบครัว
          - ตั้งงบประมาณในการซื้อ
          - สำรวจความต้องการของสมาชิกในครอบครัว

          - การเลือกซื้อผัก ผักมีทั้งประเภทที่รับประทานใบ ลำต้น หัว ผล ดอก การเลือกซื้อผักสดจะต้องเลือกซื้อที่สะอาด ไม่เหี่ยว และมีสีเขียวสด และไม่มีคราบสีขาวๆ ตกค้าง เพราะอาจเป็นยาฆ่าแมลงตกค้าง ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันมีผักปลอดสารพิษ  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

          - การเลือกซื้อผลไม้ ผลไม้มีวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และยังมีรสชาติที่แต่ต่างกัน ควรเลือกลักษณะของผลไม้ที่มีผิวสดใสไม่เหี่ยว  เปลือกหรือผิวไม่มีรอยช้ำหรือมีแมลงเจาะ เช่น ส้มเขียวหวานควรเลือกที่มีผิวบางและลักษณะของผลที่กลมแป้น กล้วยน้ำว้าควรเลือกที่เปลือกบาง ผิวของผลไม่เป็นเหลี่ยม มะม่วงควรเลือกที่แก่จัด ผิวนวล ปัจจุบันการเลือกดูจากสีของผลอาจไม่แน่นอนเพราะมีการบ่มแก๊ส ทำให้ผิวเหลืองทั้งที่บางทีผลนั้นอาจยังไม่แก่จัด

          - การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง ในการเลือกซื้อควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดอภัย ความสะอาด และความสด ไม่มีกลิ่นเหม็น เข่น เนื้อหมูเลือกที่มีสีชมพูอ่อน เนื้อละเอียดแน่น ปลาเลือกตัวที่มีเหงือกสีแดง ตาใส เนื้อวัวเลือกที่มีสีแดงสดไม่ดำคล้ำ เป็ด,ไก่เลือกที่เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นเหม็น กุ้งเลือกตัวที่เนื้อติดกับตัวแน่น ไข่เลือกที่เปลือกไข่สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว

         - การเลือกซื้ออาหารแห้ง อาหารแห้งเป็นอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ควรเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่สะอาด มีที่เก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีภาชนะปิดมิดชิด เช่น ข้าวสาร เลือกที่สะอาด ไม่มีตัวมอด วิธีการเก็บรักษาควรเก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้นและใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด, กระเทียม เลือกที่เปลือกแห้งสนิท กลีบแน่น วิธีเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่ลมโกรกและสามารถหยิบใช้ได้สะดวก

          หากเราต้องการประกอบอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเราจำเป็นจะต้องมีการเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งเป็นส่วนผสมและเครื่องปรุงรส โดยจะต้องจัดเตรียมให้เหมาะสมกับชนิดและลักษณะของอาหาร

         - วัตถุดิบประเภทผัก ซึ่งประเภทผักจำเป็นจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะผัดอาจจะช้ำได้ ดังนั้นในการเตรียมผักก่อนนำมาปรุงอาหารก่อนหั่นต้องทำการล้างให้สะอาดผักที่เป็นกอ เช่นผักกาดขาวต้องปลิดออกมาล้างทีละกาบ ผักที่สามารถรับประมาณสดได้ต้องล้างด่างทับทิมหรือน้ำเกลือประมาณ 10 นาทีเพื่อล้างยาฆ่าแมลง

ที่มา : https://home.kapook.com/view158392.html

        - วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ ตัดเอาส่วนที่ไม่ต้องการออกก่อนที่จะนำไปล้าง เช่นปลาก็ให้ขอดเกล็ด ตัดครีบ ตัดเหงือก ผ่าทองเอาเครื่องในออก แล้วจึงนำไปล้าง หรืออาจใช้น้ำเกลือล้างได้เพื่อลดกลิ่นคาว เนื้อหมู ล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นตามขนาดที่ต้องการ

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/how-to-cut-meat-for-cooking

การเตรียมวัตถุดิบโดยการหั่น

          การหั่นก็เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญก่อนที่เราจะเริ่มประกอบอาหาร เพราะวัตถุดิบแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นรูปแบบการหั่นที่เหมาะสมจึงแตกต่างกันออกไป โดยมีวิธีการหั่นแบบต่างๆ ดังนี้

          Julienne (จูเลียน) ลักษณะของวัตถุดิบของการหั่นแบบนี้จะเป็นแท่งมีความหนาประมาณ 1/8 นิ้ว ยาวประมาณ 2 นิ้ว การหั่นแบบนี้นิยมใช้ในการทำสลัด

ที่มา : http://juliennepeeler.info

          Batonnet ลักษณะของวัตถุดิบของการหั่นจะคล้ายๆ กับการหั่นแบบ Julienne แต่มีความหนากว่า หนาประมาณ ¼ นิ้ว ลักษณะของวัตถุดิบที่ได้จะคล้ายกับเฟรนช์ฟราย

ที่มา : http://atmedia.imgix.net

     Slice (สไลด์) คือการหั่นเป็นแว่นๆตามรูปทรงของอาหาร

ที่มา : http://www.couponclippingcook.com

     Brunoise (บรูนัวส์) เป็นการหั่นแบบลูกเต๋าจิ๋ว โดยจะหั่นเป็นแท่งแบบ Julienne ก่อน แล้วจึงซอยให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆอีกรอบ  การหั่นแบบนี้เหมาะสำหรับการทำไส้ของอาหารต่าง ๆ

ที่มา : http://cdn-jpg.thedailymeal.net

 Small dice (สมอลไดซ์) เป็นการหั่นแบบลูกเต๋าเหมือนกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่าแบบ Brunoise

ที่มา : http://vegfreshinc.com

Large dice (ลาร์จไดซ์) เป็นการหั่นแบบลูกเต๋าใหญ่ เหมาะกับการหั่นเพื่อทำซุป

ที่มา : http://ghk.h-cdn.co

Chiffonade (ชิฟฟอเนด) เป็นการซอยเป็นเส้นบางๆ เช่นการซอยใบมะกรูด โดยการนำผักมาเรียงซ้อนกันแล้วม้นหรือพับแล้วซอยเป็นเส้นบางๆ

ที่มา : http://farm1.static.flickr.com

Turned (เทิร์น) เป็นการปลอกวัตถุดิบให้มีรูปร่างเรียว โดยการหั่นลักษณะนี้ไม่ค่อยพบในอาหารไทย

ที่มา : https://www.smartkitchen.com

ที่มา : http://www.hangtightwmarc.com

Mince (มินซ์) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการสับ คือเป็นการหั่นแบบละเอียด เช่น กระเทียมสับ

ที่มา : http://www.seriouseats.com

Rough chop (รัฟช็อป) เป็นการสับอีกรูปแบบหนึ่ง แต่วัตถุดิบที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ Mince

ที่มา : http://tastykitchen.com

ที่มา : https://www.rsvp-intl.com




   

<< Go Back